fbpx

สบู่ก้อนแฮนเมด มีกี่ประเภท

สบู่เกิดจากการ Saponification คือ กระบวนการที่ด่าง ผสมกับน้ำมัน ในปริมาณที่ผ่านการคิดคำนวณค่าด่าง และ น้ำมันในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว เพื่อให้เพียงพอต่อการทำปฏิกิริยาให้เกิดเป็นสบู่ค่ะ

ในการทำสบู่แฮนเมด เท่าที่ศึกษามา มีวิธีการทำ ประเภทค่ะ

1.สบู่ MP “Melt and Pour Soap”

วิธีการทำก็ตรงตัวเลยค่ะ หลอม และ เทเป็นการนำเอาเบสสบู่ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว มีทั้งแบบใส และแบบขุ่น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นนำมาหั่นเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อง่ายต่อการละลาย ด้วยการตุ๋น โดยใช้หม้อ ชั้น เหมือนการตุ๋นชอคโกแลตค่ะ บางคนอาจนำเข้าไมโครเวฟ เพื่อประหยัดเวลา เมื่อสบู่ละลายแล้วเราก็นำมาผสม สี กลิ่น และสมุนไพรต่างๆ ตามชอบ เทลงแม่พิมพ์ จานั้นรอให้สบู่แข็ง เซ็ทตัว จึงแกะออกจากแม่พิมพ์ นำมาห่อสามารถใช้ได้เลยค่ะ

2. สบู่ HP “Hot Process Soap”

การทำสบู่ HP เกิดจากการคำนวณปริมาณ น้ำด่าง และน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสมตามสูตรคำนวณ ที่เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคน และนำน้ำด่าง และน้ำมันมาผสมให้เข้ากันจนได้ที่ และใช้หม้อสำหรับตุ๋น เพื่อให้สบู่ทำปฏิกริยาระหว่าง น้ำด่างกับน้ำมัน จนจบกระบวนการ Saponification จากนั้นทำการใส่น้ำหอม และสมุนไพรตามชอบ นำมาเทลงในแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ 1 คืน นำออกจากแม่พิพม์ และนำมาตัดเป็นก้อนตามชอบ สามารถใช้ได้เลยแต่สบู่บางสูตรอาจยังนิ่มอยู่ บางคนอาจผึ่งลมไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้สบู่แข็งตัวก่อนนำออกจำหน่าย

3. สบู่ CP “Cold Process Soap”

การทำสบู่ CP เกิดจากการคำนวณปริมาณ น้ำด่าง และน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสมตามสูตรคำนวณ ที่เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคน และนำน้ำด่าง และน้ำมันมาผสมให้เข้ากันจนได้ที่ เหมือนสบู่ HP ค่ะแต่ต่างกันที่ไม่ต้องใช้หม้อตุ๋นค่ะ แต่เราจะใช้วิธีการกวนน้ำด่าง กับน้ำมันจนผสมกันให้ได้ที่ ใส่สี ใส่กลิ่น เทลงโมล วาดลวดลายตามจินตนาการ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วแกะออกจากโมล ตัดสบู่ตามขนาดที่ต้องการ ผึ่งลมไว้ 3 สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการ Saponification ทำปฏิกริยากันตามธรรมชาติโดยสมบูรณ์  จึงนำมาวัดค่า ph 8-11 เมื่อได้ค่า ph ที่ปลอดภัย ตามกำหนดแล้ว จึงสามารถนำมาวางจำหน่ายได้ค่ะ 

Back to Top